Search

Title แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล
Object แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล Call number
Summary ชื่อสามัญ : แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus geometricus
วงศ์ : THERDIIDAE
ค้นพบ : โดยนายประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุมในประเทศไทย พบแมงมุมชนิดนี้ เดิมพบแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย
ลักษณะ : ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด จะมีการแปรผันของสีค่อนข้างเยอะ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง ขนคล้ายตะขอเรียงเหมือนซี่หวีอยู่บนขาปล้องสุดท้ายของขาคู่ที่ 4 ใช้ในการสาวใยพันเหยื่อก่อนกินเป็นอาหาร พฤติกรรมการล่าเหยื่อของแมงมุมชนิดนี้จะสร้างใยรูป ทรง 3 มิติ พิเศษโดยมีใยดักเหยื่อเชื่อมจากรังนอน ส่วนที่มาของชื่อแมงมุมแม่หม้ายมาจากพฤติกรรมเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แมงมุมเพศเมียจะกินแมงมุมเพศผู้หลังการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น
ที่มาข้อมูล : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1232288256&grpid=00&catid=04
ที่มาภาพ : http://nathistoc.bio.uci.edu/spiders/IMG_3947.jpg