Search


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยคุกคามของมหาอำนาจชาติตะวันตก เนื่องจากขณะทรงพระผนวช พระองค์ได้ทรงศึกษาหา ความรู้จากหนังสือพิมพ์ ตำราต่างประเทศ ที่ทรงสั่งซื้อ หรือที่มีผู้นำเข้ามาถวาย และทรงได้แลกเปลี่ยนความรู้ และข้อคิดเห็น กับชาวต่างประเทศ ทำให้พระองค์ทรงเข้าใจสถานการณ์ของบ้านเมือง และสิ่งที่บ้านเมืองจะต้องเผชิญ ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระภิกษุ

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าแบบตะวันตก และถึงแม้จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบบ สมบูรณาญาสิทธิราช ที่มีพระราชอำนาจเด็ดขาดเหนือผู้อื่น แต่พระองค์มิได้ประสงค์จะใช้พระราชอำนาจที่จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน พระองค์ทรงย้ำอยู่เสมอว่า ที่ได้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะทรงได้รับเลือก ดังมีจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า มหาชนนิกรสโมสรสมมติ อันแปลว่า มหาชนได้รวมกันเลือกตั้งขึ้น (จุลจักรพงศ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าชีวิต หน้า 359) และ “ในพระราชหัตถเลขาถึงพันโทบัตเตอร์เวิร์ธ ข้าหลวงแห่งเกาะพรินซ์ ออฟเวลส์ ลงวันที่ 21 เมษายน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยว่า ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้งใหม่หรือรักษาการพระมหากษัตริย์แห่งสยาม”(Newly Elected President or Acting King of Siam) และอีกฉบับหนึ่งลงวันที่ 22 พฤษภาคม “พระเจ้าแผ่นดินผู้เสด็จขึ้นครองราชย์องค์ใหม่แห่งสยาม “ (Newly Enthroned King of Siam) (มัลคอล์ม สมิธ หมอฝรั่งในวังสยาม หน้า 65) แม้เมื่อทรงประกาศแก้ข่าวลือ พระองค์ทรงยืนยันว่าทรงมีพระราชอำนาจ ได้ก็ด้วยความเห็นชอบและยินยอมจากคนทั้งปวงในประเทศ พระองค์จึงทรงคำนึงถึงความสุขของราษฎรมากกว่า

ดังนั้น พระองค์จึงทรงมีแนวพระราชดำริด้านประชาธิปไตย เช่น พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เหมือนกับราษฎร ซึ่งแสดงว่าพระองค์ทรงให้สัญญาว่าจะซื่อสัตย์ต่อราษฎร นอกจากนี้ พระองค์ทรงยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยทรงให้ พระราชวงศานุวงศ์ เจ้านาย ขุนนาง พิจารณาเลือกผู้พิพากษา มาทำหน้าที่ตัดสินคดีความ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นผู้ที่พระองค์พอพระทัยหรือไม่ ผู้ใดได้รับ เสียงข้างมากก็ได้ตำแหน่งไป และต่อมาพระองค์ได้ทรงริเริ่มให้สิทธิเสรีภาพแก่ ราษฎรมากขึ้น ดังนี้ :