Search



การเปลี่ยนแปลง หรือการปฎิรูปการบริหารบ้านเมืองครั้งใหญ่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า“ใน เมื่อสยามถูกรังควานโดยฝรั่งเศสด้านหนึ่ง โดยอาณานิคมอังกฤษด้านหนึ่ง...เราต้องตัดสินใจว่าเราจะทำอย่างไร จะว่ายทวนน้ำขึ้นไปทำตัวเป็นมิตรกับจระเข้ หรือว่ายออกทะเลไปเกาะปลาวาฬไว้ หากเราพบบ่อทองในประเทศเรา...พอที่จะซื้อเรือรบจำนวนร้อยๆ ลำก็ตาม เราคงไม่สามารถสู้รบกับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบจากประเทศเหล่านี้ (อังกฤษและฝรั่งเศส) พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไหร่ก็ได้...อาวุธชนิดเดียวที่จะเป็นประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคตก็คือ วาจาและหัวใจอันกอปรด้วยสติและปัญญา” (นวพร เรืองสกุล. ๒๕๕๐. หน้า ๑๐) ซึ่งนำไปสู่การทำสนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring Treaty) ใน พ.ศ.๒๓๙๘ ที่สยามทำกับอังกฤษ และประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นที่ไทยต้องจำยอมทำสนธิ สัญญาตามข้อเสนอของอังกฤษ แม้ว่าไทยต้องเสียเปรียบอย่างมากก็ตาม เพราะเกรงว่าไทยอาจถูกอังกฤษบีบบังคับด้วยกำลังกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ ทันสมัย (Gunboat Policy : นโยบายเรือปืน ที่เซอร์จอห์น เบาวริ่งนำเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา กรณีที่ไทยไม่ยอมลงนามจะใช้กำลังบีบบังคับ ซึ่งนโยบายดังกล่าวใช้ได้ผลที่จีน) แล้วหาเหตุยึดไทยเป็นอาณานิคมในที่สุด ดังประเทศข้างเคียงอื่นๆ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น (ไกรฤกษ์ นานา. ๒๕๕๐)

ระหว่างการดำเนินนโยบายดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงให้ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบ ตะวันตก เพื่อที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกจะไม่ใช้เป็นข้ออ้างว่าไทยมีความป่าเถื่อนไร้ อารยธรรม ซึ่งจะเป็นหน้าที่หรือภารกิจของคนผิวขาวที่ต้องมาเปลี่ยนแปลงให้ไทยมีความ ก้าวหน้าทันสมัย และมีอารยธรรมตามแบบตะวันตกอย่างที่เรียกว่าเป็น “ภาระของคนผิวขาว” ดังที่มหาอำนาจตะวันตกมักใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมของตนเองในการ ยึดครองประเทศต่างๆ ในเอเชีย และแอฟริกาเป็นอาณานิคม ซึ่งการทำสนธิสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังนี้

ปรากฎการณ์เรือสินค้า ๑๐๐ ลำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๐๗
ภาพจาก : พิพัฒน์ พงศ์รพีพร. ภาพมุมกว้างของกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ ๔ : การค้นพบใหม่. กรุงเทพฯ :
เมืองโบราณ, ๒๕๔๔. หน้า ๑๐๐.

โรงกษาปณ์สิทธิการ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับทำเหรียญกษาปณ์ขึ้น
ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ
ภาพจาก : ประชุมภาพประวัติศาสตร์แผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.
หน้า ๓๘.