Search

Title น้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ
Object กรุงเทพฯ อยู่คู่สายน้ำ Call number DS589.B2 ก-ก 2553
Summary จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีการบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ว่า เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2328 ระดับน้ำที่ท้องสนามหลวงสูงถึง 8 ศอก 10 นิ้ว วัดปริมาณน้ำภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณพื้นที่ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานได้ 4 ศอก 8 นิ้ว เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง กรมนาต้องขข้าวเปลือกในฉางหลวงออกมาจำหน่ายจ่ายแจกแก่ราษฎร
สมัยรัชกาลที่ 2 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2362 ส่งผลให้เกิดข้าวยากหมากแพง
สมัยรัชกาลที่ 3 วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2374 น้ำท่วมกรุงเทพฯ ทั่วพระนคร และมากกว่าเมื่อ พ.ศ.2328
สมัยรัชกาลที่ 4 เกิดน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้ง วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2402 และวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2410
สมัยรัชกาลที่ 5 วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2422 น้ำท่วมสูงถึงขอบประตูพิมานไชยศรี
สมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2406 น้ำท่วมไปถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ถึงขั้นมีการแข่งเรือได้
สมัยรัชกาลที่ 8 เกิดน้ำท่วมนานถึง 2 เดือน ปริมาณน้ำมากกว่าเมื่อ พ.ศ.2460 เกือบเท่าตัว และในพ.ศ.2485 น้ำท่วมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า สูงถึง 1.50 เมตร และท่วมนานถึง 3 เดือน
สมัยรัชกาลที่ 9 เกิดน้ำท่วมในอย่างต่อเนื่องใน พ.ศ.2518, 2520, 2521, 2523, 2525 และรุนแรงมากใน พ.ศ.2526 นานถึง 4 เดือน ต่อมาใน พ.ศ.2538 น้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง วัดปริมาณในแม่น้ำเจ้าพระยาได้สูงถึง 2.27 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ท่วมล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนบุรีอย่างหนัก และพ.ศ.2554 น้ำท่วมกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง นานประมาณ 4 เดือน


ที่มา :
กรุงเทพมหานคร. "น้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ," กรุงเทพฯ อยู่คู่สายน้ำ. กรุงเทพฯ : สำนักระบายน้ำ, 2553. หน้า 79-81.